ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน

Full name (English) : Master of Arts Program in Community Health Development
Abbr. name (English) : Master of Arts Program in Community Health Development

ปรัชญาหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการ นักวิจัย นักบริหาร และนักพัฒนาที่สามารถคิด วิเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถทางด้านการพัฒนาสุขภาพชุมชนเพื่อนำไปแก้ปัญหาทางสุขภาพระดับบุคคล ชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ

เส้นทางอาชีพ

  • ข้าราชการ/พนักงาน/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • นักวิจัย/นักพัฒนา
  • นักวิชาการ / นักบริหาร / ผู้เชี่ยวชาญ / ที่ปรึกษางานด้านการพัฒนาสุขภาพชุมชนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • ประกอบอาชีพอิสระ
  • โครงสร้างหลักสูตร

    1. แผน ก แบบ ก 1
    รายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต (7) หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
    2. แผน ก แบบ ก 2 36 หน่วยกิต
    รายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต (7) หน่วยกิต
    วิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
    จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
    3.หลักสูตร แผน ข
    รายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต (7) หน่วยกิต
    วิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    วิชาเลือก 15 หน่วยกิต
    การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
    จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
    ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตร

    ช่วงเวลาเปิดเรียน

    ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน

    ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์

    จุดประสงค์ของหลักสูตร

    1) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในด้านการพัฒนาสุขภาพชุมชน เป็นนักวิชาการ นักวิจัย นักบริหาร นักพัฒนา ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพของชุมชน โดยเน้นเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาวะทางกาย การจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

    2) ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะทางการวิจัย และการบริหารจัดการด้านการพัฒนาสุขภาพชุมชน โดยเน้นเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาวะทางกาย การจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

    3) ผลิตบัณฑิตด้านการพัฒนาสุขภาพชุมชน โดยเน้นเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาวะทางกาย การจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์สาขาอื่นๆได้ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม นำไปแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพชุมชนอย่างได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ

    4) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นผู้นำ ความใฝ่รู้ ความรอบรู้เท่าทันโลก มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะในการแก้ปัญหาทางสุขภาพระดับบุคคล ชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ

    คุณสมบัติของผู้สมัคร

    หลักสูตร แผน ก แบบ ก1
    1)เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา
    2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ 1 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนา ส่งเสริมหรือบริหารจัดการสุขภาพอย่างน้อย 1 ปี หรือมีผลงานการวิจัยทางด้านการพัฒนา ส่งเสริม หรือบริหารจัดการสุขภาพ หรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 เรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
    3) เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตามระเบียบและประกาศอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ที่บังคับใช้ในขณะนั้น
    4) กรณีอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกนักศึกษา

    หลักสูตร แผน ก แบบ ก2
    1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา พลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ การพยาบาล การบริหารสาธารณสุข การจัดการชุมชน พัฒนาสังคม การจัดการสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง หรือ ตามความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
    2)ในกรณีไม่ได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีในวิชาเอกที่เลือก และ/หรือไม่มีประสบการณ์ตามที่กำหนดไว้ อาจพิจารณารับเข้าศึกษา หากเห็นว่าผู้สมัครมีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าศึกษาในวิชาเอกที่สมัครได้
    3) เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตามระเบียบและประกาศอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ที่บังคับใช้ในขณะนั้น
    4) กรณีอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกนักศึกษา

    หลักสูตร แผน ข
    1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขา
    2)ในกรณีไม่ได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีในวิชาเอกที่เลือก และ/หรือไม่มีประสบการณ์ตามที่กำหนดไว้ อาจพิจารณารับเข้าศึกษา หากเห็นว่าผู้สมัครมีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าศึกษาในวิชาเอกที่สมัครได้
    3) กรณีอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกนักศึกษา

    อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

    ดร.เมธี วงศ์วีระพันธุ์
    ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
    Dr. Metee Wongweerapun
    ความเชี่ยวชาญ -
    อาจารย์ ดร. ปิยะพันธุ์ นันตา
    -
    Dr. Piyaphun Nunta
    ความเชี่ยวชาญ -
    อาจารย์ ดร. อานนท์ สีดาเพ็ง
    -
    Dr. Anon Seedapeng
    ความเชี่ยวชาญ -

    ปรับปรุงข้อมูล 4/6/2567 15:52:42
    , จำนวนการเข้าดู 0