คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Liberal Arts

         สาขาพัฒนาสังคมและมนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ โดยรองศาสตราจารย์มธุรส สว่างบำรุง จัดโครงการเสวนาเรื่อง “การพัฒนาสุขภาวะกลุ่มวัยภายใต้ภาคีเครือข่ายงานวิจัย ๔ มิติ” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพัฒนาสังคมและมนุษย์ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการสามารถบูรณาการองค์ความรู้ทุกมิติไปพัฒนาสุขภาวะมนุษย์ในสังคมไทย และยังสามารถประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับงานวิจัยของแต่ละกลุ่มวัย ณ ห้องเรียน ๔o๓ อาคารประเสริฐ ณ นคร  เทศบาลตำบลริมเหนือ และ องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองแก้ว และวิทยากร ๔ ท่าน ได้ร่วมเสวนาในช่วงเวลา ๑o.oo-๑๒.ooน. ตามตารางเวลาที่กำหนดในโครงการ ได้แก่ มิติที่ ๑.พระครูวิเชียร  คุณธมโม  พระภิกษุสงฆ์นักพัฒนาชุมชน (พระนักพัฒนา) แห่งวัดเจดีย์แม่ครัว (วันที่๑๑ มกราคม ๒๕๕๕)  มิติที่ ๒. น.ส.สุปรียา พูลทาจักร์ ตำแหน่งนักพัฒนาชุมชนและสังคมและคุณสมเกียรติ อิ่มชัย ตำแหน่ง อาสาพัฒนาสังคม และ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) สังกัด เทศบาลตำบลริมเหนือ (๑๘ มกราคม ๒๕๕๕) มิติที่ ๓. นายไกร บุญมาเรือน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองแก้ว (๒๕ มกราคม ๒๕๕๕) และ มิติที่๔.คุณพ่อณัฐพงศ์  ไชยอินทร์ ประธานผู้สูงอายุระดับตำบล  หนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) นอกจากนี้ยังมีวิทยากรพิเศษเป็นผู้แทนแรงงานต่างด้าว ๑ ท่าน

       บทสรุปของการจัดโครงการดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างศักยภาพทางวิชาการให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่าง ดียิ่ง และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันสืบไป

 

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 8671

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณะศิลปศาสตร์ เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2567
ในระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2568 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2567 ตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ณ ห้องประชุม 404 ชั้น 4 อาคารประเสริฐ ณ นคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะกรรมการเข้าร่วมประเมิน 4 ท่าน ได้แก่ 1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ (ประธานกรรมการ) 2.อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์ (กรรมการ) 3.อาจารย์ ดร.อานนท์ ปะเสระกัง (กรรมการ) 4.นางวิภารัตน์ สุวรรณสิงห์ (เลขานุการ) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาพร ขันธบุตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์ นำทีมผู้บริหารและบุคลากรคณะฯ เข้าต้อนรับ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานของคณะฯ ประจำปีการศึกษา 2567 หลังจากนั้นคณะกรรมการได้ดำเนินการสัมภาษณ์ทีมผู้บริหาร, คณาจารย์, บุคลากรสายสนับสนุนและสายวิชาการ รวมถึงตัวแทนนักศึกษาและผู้ใช้บัณฑิต เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ ซึ่งการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะฯ ประจำปีการศึกษา 2567 ในครั้งนี้ คณะศิลปศาสตร์ได้รับผลการประเมินอยู่ที่ ระดับ ”4“ ??? ในการประเมินนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนการทำงานของทีมผู้บริหารและบุคลากรของคณะฯ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงาน ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการให้แก่คณะฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
18 กรกฎาคม 2568     |      77
โครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษา หัวข้อ “Mindset และบุคลิกภาพกับการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา”
ในวันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2568 อาจารย์อาภาลัย สุขสำราญ รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษา หัวข้อ “Mindset และบุคลิกภาพกับการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา” สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ณ ห้อง 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.รณยุทธ์ เอื้อไตรรัตน์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาเป็นวิทยากรในครั้งนี่ ซึ่งบรรยากาศภายในกิจกรรมเป็นไปอย่างสนุกสนานและสร้างสรรค์ น้องๆ นักศึกษาที่เข้าร่วมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้รับความรู้ ตลอดจนทักษะที่เป็นประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างความพร้อมก่อนออกฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7 กรกฎาคม 2568     |      54
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จับมือธนาคารออมสิน พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ลูกประคบสมุนไพร” หนุนเศรษฐกิจชุมชนแม่ริม
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 และธนาคารออมสินสาขาแม่ริม ดำเนินกิจกรรมติดตามและส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ลูกประคบสมุนไพร” ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอีฟเฮิร์บเพื่อสุขภาพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการผลิตลูกประคบสมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมร่วมกันพัฒนาแนวทางการสื่อสารทางการตลาด เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ รวมถึงการสร้างแบรนด์และเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนผ่านการเรียนรู้กับพื้นที่จริง พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับพันธกิจของธนาคารออมสินในการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย และบทบาทของมหาวิทยาลัยในการเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมด้วยองค์ความรู้
7 กรกฎาคม 2568     |      18