คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Liberal Arts

วันที่ 23 กรกฎาคม2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาพร ขันธบุตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์ เปิดโครงการ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริการวิชาการ จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากชุมชน ดอกไม้ ใบไม้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิมในชุมชน ซึ่งนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้า Eco print สารสกัดจากดอกไม้ สบู่ก้อน แชมพูสระผม และครีมโลชั่น ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตวิถีชุมชน การสื่อสาร สุขภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ปรับปรุงข้อมูล : 25/7/2566 13:43:14     ที่มา : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 201

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

โครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษา หัวข้อ “Mindset และบุคลิกภาพกับการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา”
ในวันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2568 อาจารย์อาภาลัย สุขสำราญ รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษา หัวข้อ “Mindset และบุคลิกภาพกับการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา” สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ณ ห้อง 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.รณยุทธ์ เอื้อไตรรัตน์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาเป็นวิทยากรในครั้งนี่ ซึ่งบรรยากาศภายในกิจกรรมเป็นไปอย่างสนุกสนานและสร้างสรรค์ น้องๆ นักศึกษาที่เข้าร่วมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้รับความรู้ ตลอดจนทักษะที่เป็นประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างความพร้อมก่อนออกฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7 กรกฎาคม 2568     |      47
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จับมือธนาคารออมสิน พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ลูกประคบสมุนไพร” หนุนเศรษฐกิจชุมชนแม่ริม
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 และธนาคารออมสินสาขาแม่ริม ดำเนินกิจกรรมติดตามและส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ลูกประคบสมุนไพร” ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอีฟเฮิร์บเพื่อสุขภาพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการผลิตลูกประคบสมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมร่วมกันพัฒนาแนวทางการสื่อสารทางการตลาด เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ รวมถึงการสร้างแบรนด์และเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนผ่านการเรียนรู้กับพื้นที่จริง พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับพันธกิจของธนาคารออมสินในการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย และบทบาทของมหาวิทยาลัยในการเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมด้วยองค์ความรู้
7 กรกฎาคม 2568     |      11