หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสังคม

Full name (English) : Bachelor of Arts Program in Social Innovation
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (นวัตกรรมสังคม)
Abbr. name (English) : B.A. (Social Innovation)

ปรัชญาหลักสูตร

"สร้างบัณฑิตนักสังคมศาสตร์ที่มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมสังคม อันได้แก่ องค์ความรู้ใหม่ กลไกใหม่ รวมถึงสิ่งใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมและหรือแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมใน 3 มิติ คือ การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการพัฒนาสังคม เพื่อนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและทัดเทียมมาตรฐานสากลและเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถในการจัดการ Soft Power ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้ประกอบการเพื่อสังคม ผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ดำเนินงาน/ผู้ประสานงาน/เจ้าหน้าที่องค์กรธุรกิจเพื่อสังคมหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือวิสาหกิจชุมชน

ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เช่น นักจัดงาน/กิจกรรมทางวัฒนธรรม

พนักงาน/เจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นักพัฒนาชุมชน นักวิจัยสังคม นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการด้านพัฒนาสังคม นักพัฒนาเด็กเยาวชนและผู้สูงวัย เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ พนักงานปฏิบัติการด้านวัฒนธรรม นักวิชาการวัฒนธรรม พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

พนักงาน/เจ้าหน้าที่/นักวิจัยประจำองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศและระหว่างประเทศในงานด้านต่าง ๆ เช่น นักพัฒนาสังคมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการพัฒนาระหว่างประเทศ นักพัฒนาศักยภาพเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงวัย นักพัฒนาสังคมเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นต้น

พนักงาน/เจ้าหน้าที่/นักวิจัยในบริษัทเอกชนในงานประเภทต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักวิจัยสังคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ เป็นต้น

นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ช่วยนักวิจัย นักเขียน นักสร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อต่าง ๆ

ครู อาจารย์ ด้านสังคมวัฒนธรรมและนวัตกรรมสังคม (ศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเพิ่ม)

โครงสร้างหลักสูตร


หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
วิชาด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านคุณค่าความเป็นมนุษย์และการใช้ชีวิต ด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านการคิดคำนวณ การใช้เหตุผลและเทคโนโลยี ด้านความเป็นผู้ประกอบการ 24 หน่วยกิต
วิชาเฉพาะด้าน
กลุ่มวิชาแกน 21 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเอกบังคับ 45 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเอกเลือก เลือกเรียน 6 รายวิชา (18 หน่วยกิต) จากกลุ่มวิชาเดียว
(กลุ่มวิชาการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อสังคม กลุ่มวิชาการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม กลุ่มวิชาการพัฒนาสังคม) 18 หน่วยกิต
สหกิจศึกษา/การเรียนรู้อิสระ/การฝึกประสบการณ์วิชาชีพี 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หน่วยกิตรวม 120 หน่วยกิต
ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตร

ช่วงเวลาเปิดเรียน

คาดว่าจะเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 1/2566
(*ทั้งนี้รอประกาศอย่างเป็นทางการผ่านเวปไซต์คณะศิลปศาสตร์)

รูปแบบของหลักสูตร (Program model)



หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี

ภาษาที่ใช้: ภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษ

การรับเข้า: รับเฉพาะนักศึกษาไทยและนักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย และใช้ภาษาไทยได้

จุดเด่นของหลักสูตร

  • ส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น พร้อมช่วยขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสังคมตามแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมหลายรูปแบบ
  • พัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ตอบสนองต่อความต้องการของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งองค์กรระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
  • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้สนใจหลากหลายกลุ่มได้เข้าเรียนในหลักสูตร
  • คณาจารย์ผู้สอนเป็นผู้มีคุณวุฒิเหมาะสม มีประสบการณ์ด้านงานวิจัย การเรียนการสอน การเป็นที่ปรึกษาองค์กรชุมชน และทำงานร่วมกับองค์กรภายนอกชุมชน
  • ผู้เรียนสามารถฝึกฝนทักษะและพัฒนานวัตกรรมสังคมเพื่อแก้ปัญหาสังคมเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Facebook  นวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Si-Mju 

ติดต่อสอบถามข้อมูล

อ.ดร.จิรวัฒน์ รักชาติ (อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-875200-7 ต่อ 157
E-mail: jira_r@hotmail.com
คุณพนิดา พละปัญญา (นักวิชาการศึกษา)
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-875200-7 ต่อ 109

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. จิรวัฒน์ รักชาติ
ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ความเชี่ยวชาญ --
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสพิน โตธิรกุล
กรรมการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ความเชี่ยวชาญ --
อาจารย์ ดร. กิตยุตม์ กิตติธรสกุ์
กรรมการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ความเชี่ยวชาญ --
อาจารย์ พสุนิต สารมาศ|
กรรมการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ความเชี่ยวชาญ --
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ
เลขานุการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ความเชี่ยวชาญ --

ปรับปรุงข้อมูล 10/6/2567 9:16:46
, จำนวนการเข้าดู 0